สงกรานต์ ประวัติ วันนี้ก็เข้าสู่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์กันแล้วนะครับ หลายคนอาจจะชอบกันเป็นพิเศษเพราะเป็นช่วงเทศกาลหยุดยาวนั่นเอง! เพราะได้พาครอบครัว ลูกหลานไปเที่ยว ไปเยี่ยมญาติ กลับบ้านเกิด หรือเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศกันนั่นเอง ซึ่งเวลานี้ไม่ว่าคุณจะไปไหนมาไหน ก็ต้องระวังเจ้าโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนกันด้วยนะครับ …
แต่คุณทราบหรือไม่ ว่า ประเพณีสงกรานต์นี้ จัดได้ว่าเป็นประเพณีร่วมรากอุษาคเนย์ ในประเทศแถบอาเซียนเลยทีเดียว เพราะประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่าง ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และสิบสองปันนา มนฑลยูนนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และในประเทศอินเดีย ก็มีประเพณีรดน้ำ สาดน้ำแบบบ้านเราเช่นกัน
สงกรานต์ ประวัติ มีความเป็นมาอย่างไร
สงกรานต์ ประวัติ ประเพณีสงกรานต์ สันนิษฐานกันว่าได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลี (Holi) จะใช้การสาดสีแทน ถือว่าเป็นการปัดเป่าโรคร้ายไปจากตัว เพราะสีที่นำมาสาดใส่กันนั้น เป็นสีที่ได้มาจากพืชพรรณและสมุนไพรตามธรรมชาติ โดยจะจัดให้มีขึ้นในทุกวันแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งก็คือเดือนมีนาคม แต่ก็มีนักเขียนด้านประวัติศาสตร์ บอกว่าคนละความหมายกันกับความเชื่อของสงกรานต์ก็ตาม
สำหรับคำว่า สงกรานต์ เป็นคำในภาษาสันสกฤตหมายถึง การเคลื่อนย้าย โดยอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายการประทับในจักรราศี หรือการเคลื่อนเข้าสู่ปีใหม่ตามความเชื่อของไทยและบางประเทศในแถบ ASEAN ซึ่งประเพณีสงกรานต์มีสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง การส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
เดิมทีวันที่จัดสงกรานต์นั้น มีการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ในปัจจุบันได้กำหนดวันที่แน่นอน คือ ตั้งแต่ 13 – 15 เมษายน หรือมีชื่อเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก
แต่เดิม วันขึ้นปีใหม่ไทย คือ วันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง พ.ศ. 2432 จึงเปลี่ยนแปลงมาเป็นวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ สาเหตุก็เพราะสอดคล้องกับธรรมเนียมโบราณ หากนับทางจันทรคติ จะตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 ซึ่งก็คือวันสงกรานต์ หรือวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนไปสู่ราศีเมษนั่นเอง แม้ว่าในปีต่อไปจะไม่ตรงกับวันสงกรานต์ (หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีน ไปสู่ราศีเมษ)
จนถึง พ.ศ. 2483 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบสากลนิยมแทนวันที่ 1 เมษายน โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2484 เป็นต้นมา
เทศกาลสงกรานต์ ในอดีต-ปัจจุบัน
ในสมัยก่อน เทศกาลสงกรานต์ พิธีกรรมบางอย่างมีเฉพาะในครอบครัวและชุมชนเท่านั้น แต่ปัจจุบัน เทศกาลสงกรานต์ได้ประสานไปทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวนั่นเอง และทุกวันนี้ เราก็ใช้น้ำให้ชุ่มชื้นกัน พรจากผู้เฒ่าผู้แก่มีความรู้สึกอาลัยอาวรณ์ต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว สรงน้ำพระ เสริมสิริมงคลรับปีใหม่ไทย
ในสังคมไทยสมัยใหม่ สงกรานต์กลายเป็นประเพณีที่ผู้คนจะกลับสู่ชนบท หรือท่องเที่ยวต่างประเทศและวังสงกรานต์ นอกจากนี้ วันที่ 13 เมษายน เป็นวันเคารพผู้สูงอายุ และวันที่ 14 เมษายน เป็นวันครอบครัว มีการประยุกต์ประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่รุ่นก่อนจนถึงปัจจุบัน เช่น การเล่นน้ำของวัยรุ่นและคนในสังคมตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ หรือสถานบันเทิงต่างๆ กลายเป็น Water Festival หรือ เทศกาลน้ำ
กิจกรรมสงกรานต์ มีอะไรบ้าง
การทำบุญตักบาตร นับว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตนเอง อีกทั้งเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญในลักษณะนี้มักจะมีการเตรียมไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงเวลาทำบุญก็จะนำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัดโดยจัดเป็นที่รวมสำหรับการทำบุญ พอหลังจากทำบุญเสร็จเรียบร้อย ก็จะก่อเจดีย์ทรายอันเป็นประเพณีที่สำคัญในวันสงกรานต์อีกด้วย
- การรดน้ำ นับได้ว่าเป็นการอวยพรปีใหม่ให้แก่กันและกัน น้ำที่นำมาใช้รด มักเป็นน้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา
- การสรงน้ำพระ เป็นการรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด ซึ่งในบางที่ก็จะมีการจัดให้สรงน้ำพระสงฆ์เพิ่มเติมด้วย
- การบังสุกุลอัฐิ สำหรับเถ้ากระดูกของญาติผู้ใหญ่ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว มักทำที่เก็บเป็นลักษณะของเจดีย์ จากนั้นจะนิมนต์พระไปบังสุกุล
การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการที่เราไปอวยพรผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ อย่าง ครูบาอาจารย์ มักจะนั่งลงกับที่ จากนั้นผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำธรรมดารดลงไปที่มือ ผู้หลักผู้ใหญ่ก็จะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด หากเป็นพระก็อาจนำเอาผ้าสบงไปถวายเพื่อให้ผลัดเปลี่ยนด้วย แต่หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง หรือผ้าขาวม้าไปให้เปลี่ยน เป็นการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ ในวันปีใหม่ไทย
การดำหัว มีจุดประสงค์คล้ายกับการรดน้ำของทางภาคกลาง ส่วนใหญ่จะพบเห็นการดำหัวได้ทางภาคเหนือ การดำหัวทำเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่อาวุโสว่า ไม่ว่าเป็น พระ ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกิน หรือเป็นการขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวหลักๆ ประกอบด้วย อาภรณ์ มะพร้าว กล้วย ส้มป่อย เทียน และดอกไม้
การปล่อยนกปล่อยปลา ถือว่าการล้างบาปที่เราได้ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้กลายเป็นดี มีแต่ความสุข ความสบายในวันขึ้นปีใหม่ การขนทรายเข้าวัด ในทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาคให้พบแต่ความสุข ความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางพื้นที่มีความเชื่อว่า การนำทรายที่ติดเท้าออกจากวัดเป็นบาป จึงต้องขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เกิดบาปนั่นเองครับ