สงกรานต์ อังกฤษ

หัวข้อ

สงกรานต์ อังกฤษ

สงกรานต์ อังกฤษ หรือประเพณีสงกรานต์ (ภาษาอังกฤษ: Songkran) ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี คือ การฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย ถือเป็นประเพณีสำคัญที่สืบทอดมาแต่โบราณ ติดตามอ่านเรื่องราวประวัติและกิจกรรมวันสงกรานต์ได้ในบทความนี้

สงกรานต์ อังกฤษ คืออะไร

สงกรานต์ อังกฤษ หรือประเพณีสงกรานต์ (ภาษาอังกฤษ: Songkran, Water Festival หรือ Thai New Year) ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายนของทุกปี ทั้งนี้ วันสงกรานต์ คือ การฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งเป็นประเพณีและมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติ ที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปัจจุบันยังถือเป็นวันหยุดราชการอีกด้วย รวมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมวันสงกรานต์ทั่วประเทศ

แก่นสำคัญของวันสงกรานต์นั้นเน้นไปที่ความกตัญญู ความอบอุ่น ความสนุกสนาน และการเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน รวมทั้งความสามัคคี ระหว่างบุคคลในครอบครัว เพื่อนฝูง ชุมชน และสังคม โดยมี “น้ำ” เป็นสื่อสำคัญในการเชื่อมสัมพันธไมตรี

จากข้อมูลของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา คำว่า “สงกรานต์” มาจากคำว่า “สงฺกฺรานติ” ในภาษาสันสกฤต แปลได้ว่า “เคลื่อนย้ายเข้าไป” ซึ่งหมายถึง การที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีหนึ่งเข้าสู่อีกราศีหนึ่ง กล่าวเป็นนัยคือการก้าวเข้าสู่ปีใหม่ เมื่อพระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษจะเรียกว่าเป็น “มหาสงกรานต์” หรือการก้าวครั้งยิ่งใหญ่ที่มีความสำคัญ เพราะถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามคติพราหมณ์ โดยเรียกวันที่ 13 เมษายนว่าเป็น “วันมหาสงกรานต์” และเรียกวันที่ 14 เมษายนว่าเป็น “วันเนา” (วันที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งเป็นราศีแรกของปีแล้ว) ส่วนวันที่ 15 เมษายนเรียกว่าเป็น “วันเถลิงศก” ถือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์ก้าวเข้าสู่ราศีเมษอย่างเต็มที่ จึงเป็นวันที่ขึ้นศักราชใหม่

วันสงกรานต์ตรงกับวันที่เท่าไหร่

เทศกาลสงกรานต์ของไทย ตรงกับวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายนของทุกปี โดยรัฐบาลกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมสานต่อประเพณีอันดีงามของไทย รวมทั้งเป็นโอกาสให้ประชาชนที่ศึกษาเล่าเรียนหรือทำงานต่างพื้นที่ได้เดินทางกลับภูมิลำเนา เพื่อร่วมประกอบพิธีต่าง ๆ ตามประเพณี และใช้เวลากับครอบครัว

วันสงกรานต์ 2566 ตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน และถือเป็นวันหยุดราชการของไทย สรุปวันหยุดสงกรานต์ปี 2566 จะมีวันหยุดยาว รวม 5 วัน คือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน – วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 2566

นอกจากจะเป็นวันสงกรานต์แล้ว ยังมีการกำหนดวันสำคัญอื่น ๆ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์เพื่อสะท้อนถึงค่านิยมสำคัญของชาวไทย ได้แก่

  • วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของผู้สูงอายุ ผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโสในครอบครัวและชุมชน ซึ่งได้สร้างคุณประโยชน์มากมายให้ประเทศชาติ
  • วันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เพื่อให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพกับครอบครัว เนื่องจากเทศกาลสงกรานต์เป็นโอกาสดีที่สมาชิกในครอบครัวมักจะได้พบปะกันอย่างพร้อมหน้า และสามารถทำกิจกรรมร่วมกันได้

ความสำคัญของวันสงกรานต์และประเพณีสงกรานต์

แม้ว่าในปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย จะถือเอาวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีสากล แต่การฉลองวันสงกรานต์ ก็ยังถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน และยังมีการฉลองประเพณีที่คล้ายกันนี้ในประเทศเพื่อนบ้านของเรา เช่น ลาว กัมพูชา และเมียนมา (พม่า) เป็นต้น

วันสงกรานต์มีความสำคัญต่อสถาบันครอบครัว เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ผู้คนนิยมเดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อพบปะกับสมาชิกในครอบครัว ถือเป็นโอกาสดีในการสานสัมพันธ์และใช้เวลาร่วมกันระหว่างบุคคลในครอบครัว

กิจกรรมวันสงกรานต์ ยังมีความสำคัญต่อชุมชนและสังคมโดยรวม เพราะเป็นโอกาสดีให้ผู้คนได้พบปะในงานรื่นเริง ทำบุญทำทาน บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมถึงช่วยกันสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทย

นอกจากนี้ ผู้คนยังนิยมทำบุญ ตักบาตร และเข้าวัดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ดังนั้นวันสงกรานต์จึงมีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนาอีกด้วย

ประวัติและที่มาของวันสงกรานต์

สันนิษฐานกันว่าประเพณีสงกรานต์ของไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (Holi) หรือเทศกาลแห่งสีสันของอินเดีย ที่มีการสาดผงสี เชื่อกันว่าเป็นการปัดเป่าเชื้อโรคร้ายให้ออกจากร่างกายเรา ต่อมาได้แพร่ขยายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ในแถบประเทศจีนและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงประเทศไทย ทั้งนี้ พื้นที่ต่าง ๆ ได้มีการปรับเปลี่ยนการฉลองไปตามความเหมาะสม โดยที่วันสงกรานต์ของไทยนั้นอาศัยการสาดหรือรดน้ำกันแทน ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปรับให้เข้ากับสภาพอากาศที่ร้อนจัดในช่วงเดือนเมษายนของประเทศไทย รวมทั้งยังมีความเชื่อว่าเป็นการนำพาสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆ ออกจากชีวิต

วันสงกรานต์ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงเมื่อ พ.ศ. 2483 ในสมัยที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ทางราชการได้กำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทินสากล อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ทางราชการ แต่วันสงกรานต์ก็ยังคงมีความสำคัญและขึ้นชื่อว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย

กิจกรรมวันสงกรานต์และประเพณีสงกรานต์แบบไทย

ตัวอย่างกิจกรรมที่ผู้คนนิยมปฏิบัติสืบต่อมาจนเป็นประเพณีสงกรานต์เพื่อฉลองปีใหม่ไทย ได้แก่

ทำบุญตักบาตร ทำทาน สวดมนต์ เลี้ยงพระ ฟังเทศน์

ก่อนวันสงกรานต์ ผู้คนมักจะเตรียมความพร้อมสำหรับต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ เช่น ทำความสะอาด เตรียมอาหารและสิ่งของเพื่อไปทำบุญ การทำบุญตักบาตรถือเป็นการช่วยสืบทอดและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา รวมทั้งยังเป็นการช่วยให้รู้จักการให้และการเสียสละ

สรงน้ำพระ

การสรงน้ำพระที่นิยมปฏิบัติในช่วงวันสงกรานต์นั้นมี 2 แบบ ได้แก่ การสรงน้ำพระพุทธรูป และการสรงน้ำพระภิกษุสามเณร เพื่อแสดงความเคารพต่อพระพุทธศาสนาและเพื่อความเป็นสิริมงคลต้อนรับปีใหม่

รดน้ำขอพรผู้ใหญ่

ประเพณีการรดน้ำขอพรผู้ใหญ่นั้นถือเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนถึงค่านิยมและวัฒนธรรมอันดีงามของไทยที่ปฏิบัติสืบเนื่องมาตั้งแต่ในอดีต

เล่นรดน้ำ

การเล่นรดน้ำถือเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวันสงกรานต์ซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก จุดประสงค์หลักของการเล่นรดน้ำสงกรานต์นั้นคือการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชน สานมิตรภาพระหว่างผู้คน รวมทั้งถือเป็นการอวยพรปีใหม่ไปในตัว

ข้อปฏิบัติที่สำคัญคือการเล่นน้ำควรเป็นไปด้วยความสุภาพ หลีกเลี่ยงการผสมแป้งหรือสีเพราะจะทำให้ยากต่อการทำความสะอาด ส่วนการประแป้งดินสอพองนั้น แม้จะเคยเป็นประเพณีนิยมปฏิบัติ แต่ปัจจุบันควรคำนึงถึงความเหมาะสมและมารยาท ไม่ควรประแป้งผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต

 

บทความที่เกี่ยวข้อง